ข้อมูลโครงการวิจัย | รายละเอียดงานวิจัย
ชื่อโครงการ
[ไทย]
การพัฒนาระบบอุทธรณ์ร้องทุกข์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
[Eng]
The Development of Complant and appeal system in higher education institution : case study of Lampang Rajabhat University
ลักษณะโครงการ
โครงการต่อเนื่อง
ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
งบประมาณ
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณภายใน
ประเภทแหล่งทุนที่ 1
งบรายได้
[งบประมาณ 25,000.00 บาท]
ข้อมูลวิจัย
คำสำคัญ
[ไทย] มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มที่เล็กสุด เรียกว่าครอบครัวซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และเมื่อครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวอยู่รวมกันจนกลายเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนโดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และเมื่อหลาย ๆ หมู่บ้านหรือหลาย ๆ ชุมชนรวมกันกลายเป็นอำเภอ จังหวัดและประเทศ สำหรับการปกครองระดับประเทศในโลกมีหลายรูปแบบ แต่ที่เห็นเด่นชัดได้แก่ การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ โดยรัฐมีอำนาจและกรรมสิทธิ์เหนือประชาชน และการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตัวแทนจากประชาชนเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ในระบอบประชาธิปไตยจะมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลตามหลักของ มองเตสกิเออร์ โดยพิจารณาในแง่ของผู้ใช้อำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายคือ อำนาจนิติบัญญัติ ได้แก่รัฐสภา อำนาจบริหาร ได้แก่ รัฐบาล และอำนาจตุลาการ ได้แก่ ศาล และการใช้อำนาจดังกล่าวต้องมีอิสระหรือมีอำนาจดุลยพินิจ ขณะเดียวกันต้องมีอำนาจตามกฎหมายในการตรวจสอบและควบคุมภายในและภายนอกองค์กรฝ่ายปกครอง อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องมีกฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใด และการกระทำดังกล่าวต้องชอบด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นการใช้อำนาจดังกล่าวอาจกระทบสิทธิแก่บุคคลอื่น และสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้ได้รับคำสั่ง หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกกฎ หรือการกระทำอื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งบุคคลนั้น มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจสอบและควบคุมภายนอกองค์กร อย่างไรก็ตามกฎหมายยังได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ทบทวนการกระทำทางปกครอง โดยให้ผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งทางปกครอง อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง เพื่อให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ถือว่าเป็นการควบคุมภายในองค์กร การควบคุมภายในฝ่ายปกครองถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายได้โต้แย้งสิทธิทางปกครองและให้เจ้าหน้าที่ได้ทบทวนคำสั่งทางปกครอง ถือเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการลดคดีขึ้นสู่ศาล ลดความขัดแย้งในองค์กร และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรภายในองค์กร ถือได้ว่าเป็นมาตรการการป้องกันเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้รับคำสั่งทางปกครอง ให้ปฏิบัติราชการอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล และช่วยให้ผู้ออกคำสั่งหรือผู้บริหารใช้อำนาจเป็นไปตามขั้นตอนที่เป็นสาระของกฎหมาย การตรวจสอบและถ่วงดุลในสถานบันอุดมศึกษา เป็นปัญหาที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันเห็นได้จากสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับคดีการบริหารงานบุคคลขึ้นสู่ศาลปกครองมากขึ้น อีกทั้งมีการร้องเรียนการกระทำมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยใช้อำนาจในการบริหาร ไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ มีการกำหนดคุณสมบัติล่วงหน้าของผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากพวกพ้องตัวเองโดยสมรู้ร่วมคิดเอื้อประโยชน์ต่อพรรคพวก ด้วยการแก้กฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง มีการเลือกปฏิบัติโดยการใช้มติของเสียงส่วนมากในสภามหาวิทยาลัยโดยไม่รับฟังข้อคิดเห็นหรือท้วงติงจากผู้ที่เกี่ยวข้องทำให้ขาดความเป็นนักวิชาการ การนำหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลภายในองค์กรโดยการใช้ระบบอุทธรณ์และร้องทุกข์ในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นมาตรการควบคุมภายในฝ่ายปกครอง (ประเวศ อรรถศุภผล.(2547)) จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวและน่าสนใจโดยมุ่งสนใจในปัญหาและอุปสรรคทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ ประกาศที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบอุทธรณ์และร้องทุกข์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานในสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญของระบบอุทธรณ์และร้องทุกข์ จึงได้ขอเสนอโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการอุทธรณ์และร้องทุกข์ในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,การพัฒนา,การอุทธรณ์,การร้องทุกข์,สถาบันอุดมศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
[Eng]
ประเภทการวิจัย
การวิจัยพื้นฐาน
วันที่เริ่มต้นการทำวิจัย
01-05-2558
วันที่สิ้นสุดการทำวิจัย
30-04-2559
หน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัย
ข้อมูลยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (เป้าประสงค์)
-
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ (ยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ (เป้าประสงค์)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (ยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (ประเด็นยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (แผนงาน)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น
นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
-
อุตสาหกรรมและคลัสเตอร์เป้าหมาย
ประเภทงานวิจัย
สาขาการวิจัยหลัก OECD *
-
สาขาการวิจัยย่อย OECD *
-
สาขา ISCED (รหัสย่อย1)*
-
สาขา ISCED (รหัสย่อย2)*
-
ข้อมูลทีมนักวิจัย
เกียรติสุดา โสดามรรค
หัวหน้าโครงการวิจัย
ตำแหน่งที่รับผิดชอบ
หัวหน้าโครงการวิจัย
สัดส่วนการมีส่วนร่วม
100%
เวลาที่ทำวิจัย (ชั่วโมง/สัปดาห์)
สัดส่วนงบประมาณ
25,000.00