ข้อมูลโครงการวิจัย | รายละเอียดงานวิจัย
รหัสโครงการ
2558167
ชื่อโครงการ
[ไทย] ผลกระทบของประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการตัดสินใจของธุรกิจอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
[Eng] Effect of Cost Management Effectiveness on Decision Success of Northern Region Industrial Estate.
ลักษณะโครงการ
โครงการใหม่
ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ประเภทงานวิจัย
-
ปีงบประมาณ
2558
ประเภทงบประมาณ
งบประมาณภายใน
ประเภทแหล่งทุนที่ 1
งบรายได้ [งบประมาณ 40,000.00 บาท]
คำสำคัญ
[ไทย] การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ก่อให้เกิดภาวการณ์แข่งขันที่ไร้พรมแดน องค์กรธุรกิจต้องมีการปรับตัวทั้งกลยุทธ์ คุณภาพ เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้สามารถแข่งขัน อยู่รอดได้ในการประกอบการ ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจทั่วโลกรวมถึงธุรกิจในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการบริหารธุรกิจยุคโลกาภิวัฒน์ ผู้บริหารจะต้องปรับรูปแบบการบริหารให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันทางการตลาดซึ่งเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดเวลา เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถรู้ข้อมูลข่าวสารทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการได้ตามต้องการ ปกติลูกค้าโดยทั่วไปต้องการซื้อสินค้าที่ดีมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ราคาที่ไม่แพง รวมทั้งคาดหวังที่จะได้รับบริการที่ประทับใจภายหลังการขาย เพื่อให้กิจการผลิตสินค้าได้ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าจะต้องมีระบบข้อมูลและสารสนเทศทางการบัญชีที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน สภาพการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยการพัฒนาคุณภาพและลดต้นทุนการผลิต รวมถึงองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เป็นหน่วยธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอุตสาหกรรมที่อยู่ในการควบคุมดูแลของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ที่ได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนบน ขึ้นที่จังหวัดลำพูน และ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง ขึ้นที่จังหวัดพิจิตร นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตั้งขึ้นที่จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2526 เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งกำหนดให้กระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคต่างๆ และเพื่อการพัฒนาเมืองหลัก เมืองรองของภาคต่างๆ ตามลำดับ โดย กนอ. ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือปัจจุบัน พื้นที่ริมทางหลวงหมายเลข 11 ช่วงกิโลเมตรที่ 69-70 (ลำปาง-เชียงใหม่) ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีความเหมาะสมและมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค แรงงาน วัตถุดิบทางการเกษตร ระบบสื่อสาร และคมนาคม ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่ เมื่อเดือน เมษายน 2526 แล้วเสร็จในเดือน มีนาคม 2528 ใช้เงินทุนในการดำเนินการก่อสร้างรวมประมาณ 4.8 ล้านบาท มีการลงทุนต่างชาติ ประกอบด้วย เกาหลี ญี่ปุ่น ดัทช์ ไต้หวัน ไทย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สวิสเชอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย มูลค่าเงินลงทุนรวมสะสม ปี 2552 ประมาณ 66,837 ล้านบาท มีมูลค่าการส่งออก ปี 2552 ประมาณ 41,730 ล้านบาท (ที่มา : /ฝ่ายบริหารศุลกากร ลำพูน) มีจำนวนแรงงานประมาณ 46,930 คน โดยมีจำนวนทั้งหมด 9 ประเภท รวม 75 โรงงาน ประกอบด้วยดังนี้ หมวดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 26 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 34.67 หมวดอุตสาหกรรมการเกษตร 2 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 2.66 หมวดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 9 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 12.00 หมวดอุตสาหกรรมก่อสร้าง 1 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.33 หมวดอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ 19 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 25.34 หมวดอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ 2 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 2.66 หมวดอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 6 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 8.00 หมวดอุตสาหกรรมเครื่องหนัง 1 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 1.33 หมวดอุตสาหกรรมอื่นๆ 9 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 12.00 นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน มีพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน 1,788 ไร่ มีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก ถนนภายใน ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำทิ้ง ระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าและระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้งได้รับมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2004 และระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2000 (ที่มา : สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ณ 30 กันยายน 2553) ส่วนนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดพิจิตร จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 มีนโยบายกระจายอุตสาหกรรม ไปสู่จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาค 9 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งภาคเหนือตอนบน มีนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ลำพูน) และภาคเหนือตอนล่างคือจังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (พิจิตร) โดยให้ กนอ. เป็นผู้พัฒนาโครงการ และเปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 มีเส้นทางคมนาคม การขนส่งสะดวกไม่มีปัญหาการจราจรติดขัด เพราะอยู่ริมทางหลวงสาย 117 (เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก) ซึ่งเป็นถนน 4 เลนตลอดสาย สามารถเชื่อมโยงไปยังสถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถานมรดกโลก และธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ,น้ำตก ได้สะดวกมาก และอยู่ใกล้สถานการศึกษา นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (พิจิตร) อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัด คือ พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร และอุทัยธานี ที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (พิจิตร) ตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร เท่ากันคือ 32 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 97 - 99 ของทางหลวงหมายเลข 117 สายนครสวรรค์ - พิษณุโลก ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี (เดิมเป็นอำเภอสามง่าม) จังหวัดพิจิตร เป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในแนว East-West Corridor และ North-South Corridor ประเภทอุตสาหกรมที่จะตั้งในนิคมอุตสาหกรรม จำทั้งหมด 83 โรงงาน ประกอบด้วย อุตสาหกรรม การแปรรูปพืช ผัก และผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรม สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรม ผลิตเสื่อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์จากไม้ อุตสาหกรรม เครื่องจักร เครื่องกลการเกษตร อุตสาหกรรม เกี่ยวกับอุปกรณ์สิ่งพิมพ์ กระดาษ อุตสาหกรรม เครื่องหนัง อุตสาหกรรม เซรามิกส์ อุตสาหกรรม ขึ้นรูปโลหะ อุตสาหกรรม อิเลคโทรนิคส์ อุตสาหกรรม ผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ถ่ายรูป เลนส์ อุตสาหกรรม ผลิตเครื่องเขียน เครื่องใช้สำนักงาน พื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง (พิจิตร) ได้รับการออกแบบภูมิทัศน์ให้แวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว เน้นเรื่องพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน การบริหารจัดการเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (Safety,Health,Environment and Energy: SHEE) ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 รวมทั้งมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก ถนนสายหลัก 4 ช่องจารจร กว้าง 14 เมตร,ถนนสายรอง 2 ช่องจราจร กว้าง 7 เมตร ระบบประปา สามารถผลิตน้ำประปาได้ไม่น้อยกว่า 6,400 ลูกบาศก์เมตร/วัน และมีอแอ่งน้ำสำรอง สามารถผลิตน้ำประปาได้ถึง 9,600 ลูกบาศก์เมตร/วัน ระบบบำบัดน้ำทิ้ง เป็นระบบ Weate Stabilisation Ponds สามารถรองรับน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่า 5,100 ลูกบาศก์เมตร/วัน ระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าและระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (www.phichit-ie.go.th/index.สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558) การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในโรงงานเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพื้นฐานของธุรกิจที่ว่าด้วยประสิทธิภาพของการบริหารต้นทุนที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการตัดสินใจของกิจการ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการมีความแตกต่างกัน ผลจากการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการต้องศึกษา วิเคราะห์ ตลอดจนกำหนดกิจกรรมและกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดต้นทุนแก่กิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเทคนิคการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่ทำให้ต้นทุนของสินค้ามีจำนวนต่ำที่สุด ผลผลิตเพิ่มขึ้นภายใต้การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อความสำเร็จของการตัดสินใจของธุรกิจ ทำให้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบการผลิตและการบริหารให้ยืดหยุ่นตามสภาพการตลาด จึงก่อให้เกิดแนวคิดของการบริหารต้นทุนยุคใหม่ด้วยการพัฒนาหลักการและการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงจุดเด่น จุดด้อยในการปฏิบัติงานรวมถึงการเล็งเห็นโอกาสในการทำกำไร และอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กรในอนาคต ทำให้ผู้บริหารต้นทุนต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารต้นทุนการผลิตแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในตลาดและยังต้องรู้จักใช้วิธีการวิเคราะห์และการวางแผนต้นทุนที่ถูกต้องและเหมาะสมทันต่อสถานการณ์ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์และโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หัวใจสำคัญในการดำรงอยู่ขององค์กรธุรกิจ คือธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถดำเนินการแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเราสามารถใช้การบริหารต้นทุนเป็นเครื่องมือ ภายใต้สภาพการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด องค์กรธุรกิจต่างๆ จะต้องกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กรต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งในและภายนอกกิจการ สำรวจตลาด คู่แข่งขันและลูกค้า เพื่อสร้างคุณค่าด้านต่างๆ เช่น คุณภาพ นวัตกรรมและการให้บริการอย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของลูกค้า (ดวงมณี โกมารทัต,2554 : 127-131) กล่าวถึงกิจการต้องบริหารต้นทุนในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ มีการวางแผน คิดตามและประเมินผลการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ฝ่ายปบริหารจึงต้องการข้อมูลและต้นทุนในการบริหารและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อระบุและพัฒนากลยุทธ์ขององค์กรธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันภายใต้สภาพแวดล้อมของการตลาดในปัจจุบัน ดังนั้น การบริหารต้นทุนถือเป็นส่วนสำคัญของการตัดสินใจกลยุทธ์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าตลอดวงจรอายุผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ใช้ในการตัดสินใจในการบริหารต้นทุนกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว โดยมีเป้าหมายสำคัญของการบริหารต้นทุนกลยุทธ์คือการบริหารโดยการลดต้นทุนไปพร้อมๆๆกับการสร้างคุณค่าในสินค้าซึ่งถือเป็นความสำเร็จจากการตัดสินใจในการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กิจการผลิตสินค้าได้ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าองค์กรธุรกิจจะต้องมีระบบข้อมูล และสารสนเทศทางการบัญชีที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยระบบบัญชีค้นทุนการวิเคราะห์ต้นทุนและการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ การบริหารต้นทุนไม่ให้เกิดการสูญเสียเปล่าหรือรั่วไหลการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า ล้วนต้องอาศัยข้อมูลทางด้านต้นทุนที่ถูกต้อง แม่นยำ การใช้เทคนิควิธีการต่างๆ และความทันเวลาทันเหตุการณ์ ดังนั้น การบริหารต้นทุนเป็นสิ่งจำเป็นในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่องค์กรธุรกิจต่างๆ พิจารณาหาแนวทางเพื่อปรับปรุงคุณภาพ พร้อมกับลดต้นทุนการผลิต มีนวัตกรรมและวิธีการใหม่ มีความถูกต้องและทันเวลา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานของบริษัทและเนื่องจากการธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันกัน อย่างรุนแรง ฝ่ายจัดการของกิจการจะต้องเพิ่มความสนใจในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการและต้องพยายามลดต้นทุนให้ต่ำลงฝ่ายจัดการต้องเข้าใจและสนใจในการวางแผนและการควบคุมต้นทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวพยายาม ทำให้ต้นทุนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและสามารถสู้กับคู่แข่งขันได้(รวีวัลย์ ภิยโยพนากุล,2550 : 4) การตัดสินใจเป็นกระบวนการของการแสวงหาทางเลือกที่มีอยู่จากทางเลือกต่างๆ และสามารถเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สมคิด บางโม,(2548,175) กล่าวว่า การตัดสินใจหมายถึง การตัดสินใจเลือกทางปฎิบัติ ซึ่งมีหลายทางเป็นแนวปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ส่วนศิริพร พงศ์ศรีโรจน์ (2540,187) กล่าวว่า การตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการ หมายถึง การเลือกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ หรือการเลือกทางการดำเนินการที่เห็นว่าดีที่สุดทางใดทางหนึ่ง จากทางเลือกหลายๆๆทางเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ ซึ่งสอดคล้องเป็นไปแนวทางเดียวกันกับ ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร (2547,44-45) และ บรรยงค์ โตจินดา (2548,178) ดังนั้น องค์กรธุรกิจต่างๆ ควรตระหนักว่าการตัดสินใจมิใช่เป็นเป้าหมายแต่เป็นเพียงเครื่องมือหรือแนวทางที่จะทำให้การบริหารจัดการประสบความสำเร็จลงได้ สิ่งสำคัญของการตัดสินใจคือการค้นหาวิธีการแบะแนวทางการปฏิบัติที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นขั้นตอน แล้วทำการกำหนดแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุด มีการใช้ข้อมูล เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ส่วนความสำเร็จในการตัดสินใจ เป็นผลลัพธ์ของประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนของธุรกิจที่ส่งผลให้ธุรกิจสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกจุด โดยใช้เทคนิคและวิธีการปฏิบัติทางการบริหารต้นทุน เอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิบัติที่ดี มีประสิทธิภาพเพื่อดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดและทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ประโยชน์สูงสุดทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ตามองค์ประกอบความสำเร็จของประสิทธิภาพการตัดสินใจ จะสะท้อนในด้านความรวดเร็วและทันเหตุการณ์ การนำองค์กรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กร รวมไปถึงผลจากการตัดสินใจ ดังกล่าวได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง (สมยศ นาวีการ,2544 : 60-63) ดังนี้ 1)รวดเร็วทันเหตุการณ์ (Timeliness) หมายถึงการตัดสินใจที่ทันต่อสถานการณ์ที่เผชิญปัญหา หรือช่วงเวลาที่ต้องการทางเลือก โดยคำนึงถึงความสมดุลของคุณภาพจากการตัดสินใจควบคุมกับความทันเวลา ไม่ส่งผลเสียหายจากความล่าช้าและความเสียโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากผลของการตัดสินใจ 2)บรรลุวัตถุประสงค์ (Objective Achievement) หมายถึง การตัดสินใจที่นำมาซึ่งวิธีการปฏิบัติหรือแนวทางปฏิบัติ รวมไปถึงผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายและสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยสามารถวัดได้จากผลลัพธ์จากการตัดสินใจหรือทางเลือกจากการตัดสินใจที่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด 3)เกิดประสิทธิผลสูงสุด (Best of effectiveness) หมายถึง การตัดสินใจก่อให้เกิดให้ดีที่สุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยเกิดความสมดุลระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามผลการตัดสินใจและประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติ (Cost and benefit) เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดจากทางเลือกที่หลากหลาย 4)การยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง (Acceptance from Accessory) หมายถึง ทางเลือกที่ได้จากการตัดสินใจสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทุกฝ่าย เนื่องจากการยอมรับแลมีความคิดสอดคล้อง หรือมุ่งเน้นและทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย (สุวรรณ หวังเจริญเดช,2557 : 60-62) พบว่า ความสำเร็จในการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ซับซ้อนมากขึ้นได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพด้วยการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากขึ้น ทำให้องค์กรต้องมีระบบการควบคุมเชิงจัดการด้วยวิธีการที่เรียกว่ากลยุทธ์การบริหารต้นทุนซึ่งเป็นเครื่องมือและแนวคิดทางด้านบัญชีต้นทุน โดยมีเป้าหมายอยู่ 2 ประการ คือ บทบาทในการช่วยตัดสินใจและบทบาทในการช่วยบริหารต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรสู้ความเป็นเลิศ ทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและเหนือกว่าคู่แข่งขัน อันจะนำเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น สามารถสรุปได้โดยรวมว่าความสำเร็จของการตัดสินใจ หมายถึง การเลือกทางเลือกที่ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการนำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งเป็นการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ กระบวนการตัดสินใจถือเป็นขั้นตอนนำไปสู่การวางแผนทางการบริหาร ความสำเร็จของการตัดสินใจที่มีคุณภาพทำให้การบริหารในองค์กรนั้นมีความเจริญก้าวหน้าโดยตัดสินใจกระทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ผลของการตัดสินใจเป็นที่ยอมรับ และเป็นไปได้มากที่สุดและมีผลกระทบน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่นำมาวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อหาข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด โดยอาศัยข้อมูลที่เพียงพอและระยะเวลาในการตัดสินใจโดยใช้เทคนิคและวิธีการทางการบริหารต้นทุน เข้ามาช่วยให้การตัดสินใจถูกต้องมากยิ่งขึ้น องค์กรที่มีข้อมูลทางการบัญชีที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และนำระบบต้นทุนและการบริหารต้นทุนมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการต้นทุนให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จะเป็นองค์กรที่ได้เปรียบในการแข่งขันและด้านการบริหารงาน เนื่องจากความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางการบัญชี การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการ เทคโนโลยีและระบบสื่อสารโทรคมนาคม ก่อให้เกิดแนวคิดการบริหารธุรกิจใหม่ๆ เทคนิคและวิธีการใหม่ จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจอย่างแท้จริง เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้องค์กรสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนกับความสำเร็จในการตัดสินใจของธุรกิจอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนกับความสำเร็จในการตัดสินใจของธุรกิจอุตสาหกรรมหรือไม่ อย่างไร ซึ่งทำการเก็บข้อมูลจากนักบัญชีของธุรกิจอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัย สามารถช่วยให้ผู้บริหารองค์กรธุรกิจต่างๆ นำผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานด้านการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพไปใช้ในการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร ภายใต้กระบวนการตัดสินใจที่ส่งผลให้องค์กรธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานด้านการบริหารต้นทุนไปใช้ในการตัดสินใจในการบริหารจัดการองค์กร และเป็นการยืนยันงานวิจัยในอดีตว่าการปฏิบัติงานด้านการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลทำให้กิจการประสบความสำเร็จในอนาคตต่อไป,ประสิทธิภาพ,การบริหารต้นทุน,การตัดสินใจ
[Eng]
ประเภทการวิจัย
การวิจัยประยุกต์
สาขาด้านการวิจัย
-
ระยะเวลาการทำวิจัย
วันที่เริ่มต้นการทำวิจัย
01-10-2557
วันที่สิ้นสุดการทำวิจัย
30-09-2558
หน่วยงานที่สนับสนุนการทำวิจัย
หนังสือรับรอง (คน)
-
หนังสือรับรอง (สัตว์)
-
มาตรฐานห้องปฏิบัติการ
-
มาตรฐานด้านจุลชีววิทยา
-
เลขที่สัญญา (ถ้ามี)
-
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (เป้าประสงค์)
-
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ (ยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ (เป้าประสงค์)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (ยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (ประเด็นยุทธศาสตร์)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (แผนงาน)
-
ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น
นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
อุตสาหกรรมและคลัสเตอร์เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
สาขาการวิจัยหลัก OECD *
-
สาขาการวิจัยย่อย OECD *
-
สาขา ISCED (รหัสหลัก)*
-
สาขา ISCED (รหัสย่อย1)*
-
สาขา ISCED (รหัสย่อย2)*
-
กาญจนา คุมา
หัวหน้าโครงการวิจัย
ตำแหน่งที่รับผิดชอบ
หัวหน้าโครงการวิจัย
สัดส่วนการมีส่วนร่วม
100%
เวลาที่ทำวิจัย (ชั่วโมง/สัปดาห์)
สัดส่วนงบประมาณ
40,000.00
ระบบสารสนเทศงานวิจัยและบริการวิชาการแบบรวมศูนย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง